ปลาที่นำมาเพาะพันธุ์ ควรมีอายุตั้งแต่ 5 - 6 เดือนขึ้นไป โดยปลาจะให้ไข่ครั้งละประมาณ 500 - 1,000 ฟอง ในฤดูผสมพันธุ์จะสังเกตเห็นความสมบูรณ์เพศของปลาได้ชัดเจน





ในการคัดเลือกปลาเพื่อผสมพันธุ์ มีหลักที่ควรปฏิบัติ ดังนี้
ปลาเพศผู้ คัดปลาที่แข็งแรง ปราดเปรียว ลักษณะสีสวยสด ชอบสร้างรังซึ่งเรียกว่า "หวอด" โดยการพ่นฟองอากาศที่มีน้ำเมือกจากปากและลำคอผสมด้วย ซึ่งแสดงว่าปลาเพศผู้มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์

ปลาเพศเมีย คัดเลือกปลาที่แข็งแรงสังเกตบริเวณท้องมีลักษณะอูมเป่ง และบริเวณใต้ท้องจะมีตุ่มสีขาวใกล้กับรูก้นเห็นได้ชัดเจน ซึ่งตุ่มสีขาวนี้เรียกกันว่า "ไข่นำ"













เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ชอบต่อสู้เมื่ออายุประมาณ 1 1/2 - 2 เดือน การเลี้ยงปลากัดจึงจำเป็นต้องรีบแยกปลากัดเลี้ยงในภาชนะเพียง 1 ตัวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กัน ภาชนะที่เหมาะสมที่สุด
ควรนำมาใช้เลี้ยงปลากัด ได้แก่ ขวด (สุรา) ชนิดแบนบรรจุน้ำได้ 150 ซีซี. เพราะสามารถเรียงกันได้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ การแยกเพศจะสังเกตเห็นว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นชัดเจนและขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง มีลายพาดตามยาวลำตัว 2-3 แถบ และมักจะมีขนาดเล็กกว่าปลาเพศผู้
น้ำ ที่ใช้เลี้ยงปลากัดต้องเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6.5-7.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีความเป็นด่าง 150-200 มิลลิกรัมต่อลิตรควรบรรจุน้ำลงในขวดเพียง 3/4 ขวด เพื่อเว้นช่องว่างให้อากาศได้สัมผัสกับผิวน้ำ

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด : อาหารที่ใช้เลี้ยงปลา : การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ : วิธีการเพาะพันธุ์ : การอนุบาลลูกปลา :


ปลากัด Betta splendens Regan เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ทั้งนี้เพื่อไว้ดูเล่นและเพื่อกีฬากัดปลาและเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศมานานเช่นกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย ปีหนึ่งๆ ประเทศไทยได้ส่งปลากัดไปขายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท


ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว ครีบและหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าปลาเพศเมียเล็กน้อย จากการเพาะพันธุ์และการคัดพันธุ์ติดต่อกันมานาน ทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่ สวยงามกว่าพันธุ์ดั้งเดิมมาก และจากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร เป็นต้น การแพร่กระจายของปลากัดพบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ
ในการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ มีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเรียกกันว่า ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง ที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบาง สีน้ำตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว นำมาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่รูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนา และใหญ่ขึ้น สีสันสวยสด เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีดังกล่าว และเรียกปลากัดที่ได้จากการคัดพันธุ์เพื่อการต่อสู้นี้ว่า ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกหม้อ หรือปลากัดไทย ต่อมาได้มีผู้พยายามคัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษณะนี้ว่า ปลากัดจีนหรือปลากัดเขมร ต่างประเทศรู้จักปลากัดในนาม Siamese flighting fish



ปลาทอง


ปลากัด


ปลาหางนกยูง


ปลาแฟนซีคาร์พ


ปลาปอมปาดัวร์


ปลาออสการ์


ปลาหมอสี

ปลาทองจะเติบโตและพัฒนาจนกระทั่งมีความสมบูรณ์เพศเมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน น้ำหนัก 30 กรัม ก็สามารถใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้แล้ว แต่แม่ปลาขนาดเล็กจะให้ไข่น้อย และไข่มีขนาดเล็ก การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ควรตรวจสอบลักษณะรูปร่างให้ตรงตามสายพันธุ์สมบูรณ์แข็งแรง มีครีบตั้งแข็งไม่ฉีกขาด มีเกล็ดเป็นเงางาม และตรวจสอบความสมบูรณ์เพศ ดังนี้
ปลาเพศผู้ ในฤดูผสมพันธุ์ บริเวณแผ่นปิดเหงือก (operculum) และด้านหน้าของครีบหูจะมีตุ่มเล็กๆ คล้ายเม็ดสิว เรียกว่า pearl organ เกิดขึ้นเวลาสัมผัสจะรู้สึกสากมือ
ปลาเพศเมีย
มีรูปร่างกลมและป้อมกว่าเพศผู้ ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่เต็มที่พร้อมจะผสมพันธุ์นั้น ส่วนท้องจะอูมใหญ่และอ่อนนิ่ม บริเวณก้นจะบวมและมีสีแดงเรื่อยๆ แม่ปลาที่ใช้ไม่ควรมีอายุเกิน 1 ½ ปี เนื่องจากแม่ปลาที่มีอายุมากเกินไปจะไม่วางไข่


น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาทองควรเป็นน้ำที่สะอาด ใช้น้ำบาดาล น้ำจากแม่น้ำ หรือน้ำประปาที่ใส่ถังเปิดฝาให้คลอรีนระเหยออกอย่างน้อย 3 วัน มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) 6.5-7.5 มีปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิกรัม / ลิตร จึงจำเป็นต้องมีระบบเพิ่ม ออกซิเจนในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาตลอดเวลาความกระด้าง (Hardness) 75-150 มิลลิกรัม / ลิตร และความเป็นด่าง (Alkalinity) 75-200 มิลลิกรัม / ลิตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำไม่ต่ำกว่า 3 มิลลิกรัม / ลิตร มีการดูดตะกอนพื้นบ่อออกทุกๆ 3 วัน แล้วเติมน้ำให้ได้ระดับเดิม การเลี้ยงปลาทองไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อย เพราะจะทำให้ปลาซ้ำและเกิดโรคง่าย จะเปลี่ยน 3 เดือนต่อครั้ง ในปริมาณ 25-50% ของน้ำทั้งหมดและหากน้ำในบ่อมีคุณภาพไม่ดีก็ทำให้การล้างบ่อ นำน้ำเก่าจากบ่ออื่นมาเติมปริมาณ 30% และใส่น้ำใหม่เพิ่มไปอีก 70% การไม่เปลี่ยนน้ำนานๆ แล้วเปลี่ยนจะเป็นการกระตุ้นให้ปลาวางไข่เป็นอย่างดี